ถ้าเจอลูกค้าประเภทนี้ จงหนีให้ห่างนะครับ

“ลูกค้าคือพระเจ้า” เพราะฉะนั้นจงเอาอกเอาใจพวกเขาและทำตามคำขอให้ดี เดี๋ยวพวกเขาก็เอาเงินมาให้ นี่คือปรัชญาการขายสุดคลาสสิคที่ใครๆ ก็ถูกพร่ำสอนกันมา จึงไม่แปลกที่คุณคงเคยเห็นร้านอาหารที่ปล่อยให้มีเด็กแหกปากเสียงดังรบกวนคนอื่น หรือร้านกาแฟระดับโลกชื่อดังที่ปล่อยให้ลูกค้าเอาหมาเข้าร้านได้ (เรื่องนี้ผมเห็นมากับตา) หรือไม่ก็ทนลูกค้าโขกสับเอาเปรียบสารพัดจนยอมเสียผลประโยชน์มาก

ผมจึงไม่ได้เห็นด้วยกับปรัชญานี้มากนัก มันคงใช้ได้แน่ๆ ถ้าลูกค้า (ชั้นดี) คือพระเจ้า แต่ถ้าเจอกับลูกค้าชั้นเลวล่ะครับ เชื่อผมเถอะว่าจงหลีกให้ห่างกับลูกค้าประเภทนี้และให้ความสำคัญกับลูกค้าใหม่จะดีกว่า มาดูกันว่าประเภทของลูกค้าชั้นเลวที่คุณคงเจอซักครั้งนั้นมีอะไรบ้าง

1. ลูกค้าที่ต้องการราคาที่ถูกที่สุด

ถ้าคุณไม่ได้ทำธุรกิจขายส่ง เวลาเจอลูกค้าประเภทที่เทียบคู่แข่งหลายๆ เจ้า ยอมเสียเวลาเพื่อค้นหาข้อมูลหรือเอาข้อเสนอของอีกเจ้ามาบลัฟคุณ ลูกค้าประเภทนี้รับมือยากมากๆ เพราะพวกเขาจะขู่ว่าถ้าคุณแพงกว่าก็ไม่ซื้อ ส่วนใหญ่มักเกิดกับธุรกิจที่สินค้ามีคุณสมบัติเหมือนกันทุกอย่าง เช่น มือถือ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งก็ไม่ผิดที่พวกเขาจะเทียบราคาได้และเลือกสิ่งที่ถูกที่สุด แต่ถ้าต้นทุนที่คุณได้ไม่มีกำไรมากนัก การทำธุรกิจในรูปแบบนี้จะไม่ค่อยมีประโยชน์ในระยะยาวครับ

2. ลูกค้าที่ไม่ให้เกียรติคุณและพูดจาแย่

อารมณ์ประมานเจ้ายศเจ้าอย่าง ดูถูกคุณสารพัด ลูกค้าประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนปกติอยู่แล้ว การเสียเวลาต่อล้อต่อเถียงก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรทำ เวลาเจอให้อดทนและปล่อยให้พวกเขาจากไปโดยที่คุณอย่าไปตอบโต้อะไรให้เสียเวลาก็พอครับ ถ้าพวกเขาจะจ่ายเงินก็รับไว้ด้วยความยินดี อย่างน้อยก็ยังได้เงินนะ

3. ลูกค้าจอมเอาเปรียบ

ส่วนใหญ่มักมาจากการเขียนสัญญาหรือมีช่องโหว่เกี่ยวกับข้อเสนอที่ไม่รัดกุมมากพอ ส่งผลให้พวกเขาสามารถเอาเปรียบหรือกอบโกยผลประโยชน์จากคุณให้มากที่สุด เช่น ร้องเรียนเกี่ยวกับความทนทานของสินค้าทั้งๆ ที่สาเหตุมาจากการใช้งานที่ขาดการบำรุงรักษาจากลูกค้า หรือว่าตามร้านเครื่องสำอางค์ที่คนมาทดลองฉีดน้ำหอมฟรีก่อนไปออกงาน หรือกินฟรีจนน่าเกลียด อะไรทำนองนี้ เป็นต้น

4. ลูกค้าขี้โกง

พวกนี้เจอแล้วต้องรู้จักเข็ดนะครับ โดยเฉพาะพวกที่เบี้ยวเรื่องการจ่ายเงิน จ่ายช้า ไม่ยอมจ่าย อ้างโน่นอ้างนี่ไปเรื่อยในกรณีที่คุณส่งมอบงานแล้วไม่ได้มีข้อผิดพลาดหรือทุกอย่างอยู่ในสัญญา คุณจะต้องรัดกุมเรื่องนี้ให้มากเพื่อป้องกันลูกค้าหัวใสที่จะใช้ช่องโหว่ในการโกงตังคุณนั่นเองครับ

5. ลูกค้าที่ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย

ส่วนใหญ่มักเป็นดราม่ากับสินค้าที่มีมูลค่าระดับนึง เช่น รถ บ้าน มือถือ ฯลฯ ซึ่งคงไม่มีลูกค้าที่ไหนบอกว่าตัวเองเป็นคนทำของพังหรอกนะครับ จงเข้าไปตรวจสอบถึงสาเหตุความเสียหายให้ได้ ถ้าพบว่าไม่ได้เป็นความผิดของคุณ คุณอาจจะเจออีกดอกก็คือการประจานในโซเชี่ยลมีเดียถึงขั้นต้องเตรียมเรื่องฟ้องร้อง ดังนั้นในบริษัทของคุณจึงควรมีฝ่ายกฎหมายที่เก่งในเรื่องการแก้เคสแบบนี้นะครับ รับรองว่าต้องโดนซักครั้งให้เป็นรสชาติชีวิตแน่นอน 555

Leave your vote

Comments

0 comments

Similar Posts