ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำ Cost Leadership Strategy เพื่อชนะตลาด
Cost Leadership Strategy ฟังดูเผินๆ ก็รู้ว่าต้องเป็นกลยุทธการ “ลดราคา” ให้ชนะคู่แข่งแน่นอน ซึ่งกลยุทธที่ว่านี้มันก็โคตรคลาสสิคอยู่แล้ว คิดอะไรไม่ออกก็ทุบราคาแม่มเถอะครับ ยอดขายน่าจะมาหรือได้เปรียบคู่แข่งแห่งๆ แต่โลกนี้ก็ไม่มีอะไรแน่นอนขนาดนั้น ใช้ซี้ซั้วก็ไม่ได้ทำให้คุณได้เปรียบถ้าคุณใช้ไม่ถูกจังหวะหรือใช้ไม่เป็น บทความนี้จึงขอเสนอช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้กลยุทธกันครับ
1. ใช้ในธุรกิจที่อ่อนไหวเรื่องราคา
การเล่นเกมราคาจะเหมาะสมที่สุดกับธุรกิจที่ราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด นั่นก็คือตลาด Mass ที่มีสินค้าเหมือนกันเปี๊ยบแบบเซเว่น โลตัส บิ๊กซี ซึ่งเจ้าไหนเล่นราคานำก่อน เจ้านั้นจะได้เปรียบและลูกค้าถึงขั้นเปลี่ยนที่ซื้อเลยก็ว่าได้ อีกตลาดนึงก็คือออนไลน์ ช็อปปี้ ลาซาด้า ครับ ผมเองก็เป็นครับในการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เรียกได้ว่า Loyalty ช่างแม่ง เลยทีเดียว
2. เมื่ออยากได้ “ส่วนแบ่งตลาด” เพิ่มขึ้น
เมื่อถึงเวลาที่อยากได้ “ฐานลูกค้า” เพิ่มขึ้น การทำราคาให้ถูกกว่าคู่แข่งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและทำให้คุณได้ส่วนแบ่งตลาดกับยอดขายเพิ่มขึ้น หรือไม่ก็เข้าถึง “กลุ่มเป้าหมาย” ได้กว้างกว่า
3. พลังของ Economy of Scale
แปลตรงๆ ก็คือการได้เปรียบจากการผลิตมากๆ ทำให้ต้นทุนต่างๆ มีสิ่งที่ถูกลง หรือนำมาผลิตซ้ำ ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในแนวทางโรงงานอุตสาหกรรม ผลก็คือคุณกุมความได้เปรียบในการทำราคาให้ต่ำลงกว่าคู่แข่งได้แบบมีกำไรอยู่ในมือเยอะ
4. มีส่วนของงาน Operation ที่ได้ประสิทธิภาพ
Operation คือการปฎิบัติการซึ่งถ้าองค์กรไหนควบคุมปัจจัยด้านการผลิต ติดตั้ง ส่งมอบ โดยใช้ทุนน้อยกว่า ก็จะทำให้สามารถทำราคาได้ต่ำกว่าคู่แข่งได้ดี
5. หาแหล่งวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์ที่ต้นทุนถูก
หนึ่งในความสามารถของผู้บริหารคือการหาคู่ค้า วัตถุดิบ ซัพพลายเออร์ที่ดี มีฝีมือ คุณภาพดี ในราคาที่ถูกกว่า จึงไม่แปลกที่บริษัทระดับโลกหลายที่ถึงขั้นข้ามน้ำข้ามทะเลมาซื้อวัตถุดิบในประเทศโลกที่สาม เป็นต้น
6. ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความได้เปรียบเรื่องราคา
ส่วนใหญ่จะต้องเป็นเทคโนโลยีที่ “ลดคน” และลดต้นทุนเป็นหลัก พูดง่ายๆ คือการมาของพวกแพลทฟอร์ม สามารถลดคนซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ได้อย่างมหาศาล เป็นต้น
7. ปรับราคาแบบก้าวร้าวรุนแรง
ส่วนใหญ่จะต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ยิ่งคุณทำการตลาดบ่อย แคมเปญปังๆ ลดราคา ปรับเรื่อยๆ ขึ้นๆ ลงๆ บ้าง ลูกค้าก็ยิ่งมีความชอบและรู้สึกว่านึกถึงคุณแบบตลอดเวลา จึงไม่แปลกที่ห้างดังหรือแพลทฟอร์มออนไลน์จะปรับตามคู่แข่ง ณ วินาทีนั้นเลย
8. ปรับคุณภาพสินค้าลงมา
เพื่อให้ต้นทุนต่ำลงและสามารถทำราคาได้ถูกลง ผลก็คือต้องลดความซับซ้อนด้านการผลิตและลดคุณภาพวัตถุดิบ
9. คุมคุณภาพให้อยู่ในจุดที่ยอมรับได้
สุดยอดการทำราคาของจริงคือสามารถกดราคาต่ำ แต่รักษาคุณภาพเอาไว้ได้ ถ้าทำได้จะได้เปรียบคู่แข่งในตลาดเป็นอย่างมาก แต่ก็ยากที่จะทำเช่นกัน
10. ใช้ตอนเปิดตัวเข้าไปแย่งชิงกับคู่แข่งช่วงแรกๆ
คิดอะไรไม่ออกก็ควรทำราคาให้น่าสนใจ โผล่มาแบบถูกกว่าเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าขาประจำของคู่แข่งให้หันมาสนใจคุณและซื้อคุณในที่สุด วิธีนี้ง่ายและได้ผลที่สุดแล้ว
Comments
0 comments