วิธีชวนคนอื่น (โดยเฉพาะคนที่พึ่งรู้จักกัน) ให้คุยกับเราอย่างสบายใจ

ทักษะการพูดถือว่าเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของการขายเลยก็ว่าได้ และแน่นอนว่าคนที่จะเป็นนักขายที่ดีนั้น จำเป็นจะต้องมีทักษะการพูดที่ยอดเยี่ยมด้วย โดยวัดผลจากความสบายใจของคู่สนทนาที่รู้สึกสบายใจ เปิดใจ และมีความไว้วางใจ แถมยังแฝงด้วยรอยยิ้มและความเชื่อใจ ผมจึงขอแบ่งปันวิธีชวนคุยตามสไตล์ของนักขายแบบมืออาชีพ รับรองว่าใครที่คุยกับคุณจะต้องเต็มใจและมีความสุขอย่างแน่นอน

1. Rule of thirds กฎ 3 ข้อ

ก่อนอื่นจงทราบกฎทั้งสามข้อเป็นสรณะสำหรับการพูดจาก่อน ดังนี้

– การพูดคุยมุ่งเน้นให้คู่สนทนาเป็นฝ่ายพูดมากกว่าเราเสมอ
– เน้นการฟังแบบจับใจความเพื่อทำความเข้าใจทั้งความรู้สึกและความหมายของคู่สนทนา
– พูดคุยเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะคู่สนทนาก่อนเสมอ

2. หา “มุมชมเชย”

เรื่องนี้ฝึกทักษะในการสังเกตเพื่อเริ่มต้นการสนทนา โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้าหรือคนที่พึ่งรู้จักกัน ผมขอให้คุณฝึกสังเกตทั้ง “เปลือกนอก” และ “ภายใน” ให้ออก โดยมีวิธีการฝึกง่ายๆ ดังนี้

– สังเกตเครื่องแต่งกายที่ดูพิเศษและมีความแตกต่าง เพื่อใช้ในการเริ่มต้นบทสนทนาและควรเป็นเรื่องดีๆ เชิงบวก เช่น สูทที่ดูดี เสื้อที่มีลวดลายพิเศษน่าสนใจ
– ควรมีความรู้เรื่องแบรนด์เนมบ้างเพื่อฝึกสังเกตโดยเฉพาะ นาฬิกาข้อมือ กระเป๋าแบรนด์เนม เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่สวมใส่มักรู้สึกยินดีถ้ามีคนทักและรู้จักแบรนด์หรือคุณสมบัติที่พวกเขาสวมใส่เป็นอย่างดี
– สังเกตเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกและกล่าวชมด้วยความจริงใจแบบไม่ เช่น คุณแต่งตัวดูดี คุณมีหุ่นที่ดี (เอาไว้ชมผู้ชาย) คุณสวยมากหรือหล่อมาก เป็นต้น ใครๆ ก็ชอบคำชมครับ
– สังเกตลักษณะท่าทางเพื่อตีความว่าคนคนนั้นน่าจะเป็นคนที่เข้าถึงง่ายหรือยาก เช่น ถ้าคนคนนั้นเป็นคนยิ้มง่าย ส่วนใหญ่มักจะมีแนวโน้มว่าเฟรนลี่กับคุณ แต่บางคนที่สีหน้าเรียบๆ กอดอกหรือล้วงกระเป๋า คนคนนั้นมีแนวโน้มว่าจะเข้าถึงยากกว่า เป็นต้น

3. เริ่มต้นการสนทนาเพื่อหาจุดร่วมด้วยคำถามส่วนตัวแบบทางการ

คำถามส่วนตัวแบบเป็นทางการคือคำถามที่ผู้ถามจะไม่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกอึดอัด ไม่ได้รู้สึกว่าลามปามเรื่องส่วนตัว ส่วนใหญ่เป็นคำถามทางการและเหมาะสำหรับทุกสถานการณ์อยู่แล้ว เช่น

– ถามเกี่ยวกับอาชีพหรือสิ่งที่พวกเขาทำ จะไปต่อได้ดีถ้าคุณทำงานคล้ายคลึงกับสิ่งที่พวกเขาทำ คุณเองก็บอกเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน
– ต่อเนื่องจากคำถามเกี่ยวกับอาชีพ ถ้าเป็นคนวงการเฉพาะ เช่น วิศวกร สถาปนิก การแพทย์ รัฐศาสตร์ ฯลฯ คุณสามารถถามเกี่ยวกับสถาบันที่พวกเขาจบมาได้ เผื่อมีจุดร่วมเดียวกันกับคุณ
– ถามเกี่ยวกับภูมิลำเนาหรือที่อยู่อาศัย เผื่อว่าเป็นคนบ้านเดียวกันหรืออยู่ละแวกใกล้ๆ กัน

4. แนะนำตัวให้พวกเขารู้สึกว่าคุณเป็นคนดีและน่าไว้วางใจ

เหมือนจะง่ายแต่ก็มีวิธีช่วยให้คุณแนะนำตัวจนคู่สนทนารู้สึกไว้ใจและสบายใจ ด้วยการใช้กฎ 3 ข้อ ดังนี้

– แนะนำตัวด้วยชื่อเล่น บอกอาชีพที่คุณทำ
– บอกวัตถุประสงค์หรือความสนใจในกรณีที่อยู่ในงานทางการหรือกึ่งทางการ
– แฝงไว้ด้วยรอยยิ้มและความจริงใจ

5. ฟังแบบจับใจความเพื่อถามคำถามแบบ Open-ended Questions

นี่คือแก่นแท้ของการทำให้คู่สนทนารู้สึกดีและสนุกที่ได้คุยกับคุณ โดยคุณต้องเริ่มจับใจความและตั้งใจฟังพวกเขาเพื่อสร้างบทสนทนาเพื่อให้พวกเขาเป็นฝ่ายพูดต่อได้อย่างสบายใจ ซึ่งคำถามมักขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น

สถานการณ์: คุณนั่งเครื่องบินข้างคนแปลกหน้าเป็นเวลานาน นั่งติดกัน ดูทรงแล้วคนข้างๆ ก็น่าจะไม่มีพิษมีภัยอะไร พอแอร์โฮสเตจมาเสริฟกาแฟแล้วคุณยกแก้วให้ คุณจึงเริ่มสนทนา
คุณ: เดินทางไปภูเก็ต ไปเที่ยวใช้มั้ยครับ
เขา: ใช่ค่ะ ว่าจะไปเที่ยวทะเลกับดำน้ำที่เกาะพีพี (Keyword คือคำว่าทะเลกับดำน้ำ แสดงว่าชอบดำน้ำ)
คุณ: แสดงว่าชอบดำน้ำเหรอครับ ผมยังไม่เคยเลย ถ้าผมอยากฝึกดำน้ำบ้าง ผมควรจะต้องทำอย่างไรครับ (ใช้คำถามแบบ Open-ended question) เพื่อให้ผู้พูดเป็นฝ่ายพูดเรื่องที่ตัวเองชอบและพูดได้ลื่นไหล

6. เสนอความช่วยเหลือถ้ามีสถานการณ์ที่คุณช่วยได้

เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเริ่มสนทนาและทำให้คู่สนทนารู้สึกดีมากๆ เช่น ช่วยถือของให้ ช่วยคู่สนทนาด้วยความสามารถที่คุณมีและเต็มใจหลังจากที่ฟังพวกเขาเล่าเรื่องบางอย่างและเข้าทางคุณพอดี เรื่องนี้จำเป็นที่จะต้องมีสถานการณ์เสริมและดวงของคุณก็ต้องดีด้วยเช่นกัน

Leave your vote

Comments

0 comments

Similar Posts