บริหารลูกทีมที่อีโก้สูง โปรไฟล์ดี แต่มีฝีมืออย่างไร

ผมเชื่อว่าคุณเคยเจอคนที่มีแคแรคเตอร์ที่เต็มไปด้วยความมั่นใจ ฝีมือดี เชื่อมั่นในตนเองอย่างสุดขั้ว ถึงขั้นต้องออกปากว่าหมอนี่อาจจะดูน่าหมั่นใส้ไปบ้าง แต่อย่างน้อยก็ทำงานเก่งจริงๆ 

ส่วนใหญ่คนที่มั่นใจในตนเองสูงและมีฝีมือดีมักจะมีเส้นบางๆ ที่แบ่งระหว่างความมั่นใจกับ “อีโก้” ซึ่งก็ไม่แปลกที่บุคลิกบุคคลระดับโลกอย่างคริสเตียโน โรนัลโด้ อีลอน มัสก์ สตีฟ จ็อบส์ มักมีความเชื่อมั่นและเต็มไปด้วยความมั่นใจ จนบ่อยครั้งที่บทสัมภาษณ์ต่างๆ อาจจะฟังแล้วระคายหูไปบ้าง เรียกได้ว่า “ไม่รักก็เกลียดเลย”

ยิ่งถ้าคุณมีลูกน้องประเภทนี้อยู่ในทีมก็คง “ทั้งรักทั้งปวดหัว” แน่ๆ เพราะฝีมือการทำงานของพวกเขาเป็นของจริง แต่นิสัยหรือแคแรคเตอร์กลับมีความมั่นใจจนบางครั้งก็อาจจะพูดตรงเกินไปจนไม่รักษาน้ำใจผู้อื่น กลายเป็นทำงานหรือคุยด้วยยาก เผลอๆ เถียงคุณกลับมาอีกต่างหาก ผมเข้าใจมากเพราะผมก็เป็นลูกน้องอีโก้สูงมาก่อน

การบริหารจัดการเหล่าลูกทีมที่มีอีโก้สูงปรี๊ด โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้นทุนชีวิตสูง การศึกษาดี ผลงานยอดเยี่ยม เปี่ยมไปด้วยความมั่นใจจึงเป็นศาสตร์แห่งการบริหารขั้นสูง เปรียบได้กับเล่าปี่ที่รบเองไม่เก่ง แต่บริหารคนดีและมีขุนศึกพร้อมถวายชีวิตให้ บทความนี้คุณจึงควรต้องอ่านเป็นอย่างยิ่งครับ มาดูวิธีการบริหารจากผมกันเลย

1. มอบความไว้วางใจเรื่องฝีมือการทำงานให้พวกเขาก่อน

ยอดฝีมือย่อมอยากได้รับความไว้วางใจจากหัวหน้า จงทำทั้งคำพูดและการกระทำทั้งสองอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเอ่ยปากมอบความไว้วางใจ และกระทำการมอบหมายงานที่ท้าทายให้กับพวกเขา คนมีอีโก้เยอะย่อมอยากได้เจ้านายที่เป็นสไตล์ “อวย” ด้วยคำชมอย่างจริงใจ (เพราะพวกเขารู้ดีว่าคุณพูดความจริง) รับรองว่าพวกเขาทำงานจนได้ผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน

2. มอบหมายงานที่ท้าทายให้กับพวกเขา

คนอีโก้สูงย่อมมีความมั่นใจสูงอยู่แล้ว จัดงานยากๆ และท้าทายให้กับพวกเขาเลยครับที่สำคัญอย่างยิ่งคือ “มอบอำนาจให้พวกเขารับผิดชอบอย่างเต็มที่” รับรองว่า “ศักดิ์ศรีมันค้ำคอ” และยากที่จะได้ยินคำปฎิเสธจากพวกเขา พร้อมกับบอกผลลัพธ์ที่พวกเขาจะได้หลังบรรลุเป้าหมาย เช่น รางวัล การโปรโมทตำแหน่ง ค่าคอมมิชชั่น ประเมินผลงาน ฯลฯ นอกจากนี้คุณยังสามารถทำให้พวกเขาเห็นจุดอ่อนหรือสิ่งที่พวกเขาต้องพัฒนาเพิ่มเติมได้ เช่น ลองโปรโมทให้พวกเขาเป็นผู้จัดการและนำเด็กจบใหม่มาให้พวกเขาบริหาร อาจจะเสี่ยงบ้างเพราะคนอีโก้สูงไม่เคยคุมทีมมาก่อน แต่ก็เป็นข้อดีเพราะพวกเขาสามารถเห็นจุดที่พัฒนาความสามารถต่อได้

3. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

เด็กอีโก้เยอะมักมีด้านมืดเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะยามที่พวกเขาเริ่ม “ซึ้งตัวเอง” ว่าเก่งกว่าหัวหน้าหรือลูกพี่ขาดพวกเขาไปไม่ได้ คุณสามารถสังเกตอาการเหล่านี้ได้ง่ายๆ เริ่มจากการสั่งงานที่ลูกน้องมักเถียงหรือมีข้อโต้แย้งกับคุณอยู่บ่อยๆ อยู่ในห้องประชุมก็ไม่ค่อยฟังคนอื่นเท่าไหร่ มีเรื่องกระทบกระทั่งกับแผนกที่ทำงานด้วยกันอยู่บ้าง เป็นต้น ดังนั้นจะดีที่สุดถ้าคุณโชว์ให้พวกเขาเห็นว่าของจริงเค้าทำกันอย่างไร คุณควรจะมีทักษะการทำงานระดับสูงเพื่อให้พวกเขายอมรับด้วย อย่างน้อยที่สุดคือคุณควรมีคอนเนคชั่นพร้อมกับวิธีการที่ถูกต้องที่เหนือกว่าพวกเขา โดยเฉพาะตอนที่พวกเขามีปัญหา ถ้าคุณแก้ไขโชว์ให้พวกเขาเห็นได้ การยอมรับก็จะมาเอง

4. ค่าตอบแทนต้องสมน้ำสมเนื้อกับฝีมือ

คนมั่นใจ ฝีมือดี อีโก้สูง โปรไฟล์ดี ย่อมรู้ว่าค่าตัวของตนเองอยู่ตรงไหน การให้ค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าราคาตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ ถ้าไม่ทำอะไรซักอย่างคงเสียพวกเขาไปไม่ช้าก็เร็ว ไม่ต้องพูดถึงเรื่องจงรักภักดีอะไรแบบนั้นนะครับ คนอีโก้สูงย่อมเชื่อตัวเองว่าสามารถไปทำงานองค์กรไหนก็ได้เพราะมีฝีมือ คุณจึงควรดูแลพวกเขาให้ดีตามมูลค่าที่พวกเขามอบให้คุณ นอกจากเงินแล้ว การโปรโมทตำแหน่งพร้อมกับมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้สูงขึ้นก็เป็นวิธีการที่ยอดเยี่ยม

5. กำกับและประเมินผลการทำงานด้วย KPI ที่มาตรฐานและยุติธรรม

สุดท้ายแล้วการประเมินผลการทำงานก็ต้องยึดตาม KPI (Key Performance Index) ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย หรืออะไรก็ตามที่ต้องวัดผลได้ คนอีโก้สูงย่อมยอมจำนนต่อตัวเลขถ้าพวกเขาทำผลงานได้ไม่ดีอยู่แล้ว หรือถ้าทำได้ดีก็สามารถอวยได้เต็มที่และยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับพวกเขาอย่างง่ายดาย

ติดตามกูนี่แหละเซลล์ร้อยล้านได้ที่
Website – sales100million.com
Blockdit – blockdit.com/sales100million
Facebook – facebook.com/sales100million
Instagram – instagram.com/sales100million
YouTube – youtube.com/@sales100million
TikTok – tiktok.com/@sales100million
LinkedIn – linkedin.com/company/sales100million

Leave your vote

Comments

0 comments

Similar Posts

ใส่ความเห็น