วิธีการวิเคราะห์คู่แข่งแบบถึงพริกถึงขิง

รู้เขา รู้เรา รู้ลูกค้า และคงจะไม่ดีแน่ถ้าคุณขาดการ “รู้คู่แข่ง” ซึ่งก็ต้องพูดเลยว่าเป็นหนึ่งในคนที่คุณ “ควรเสือก” เป็นอย่างยิ่งครับ (ฮา) เพราะมันหมายถึงการสร้างกลยุทธแห่งชัยชนะและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างขาวสะอาดนั่นเอง เรื่องนี้ต้องใช้ทักษะการวิเคราะห์คู่แข่งแบบมีหลักการก็จะสามารถช่วยได้มาก ดังนี้ครับ

1. คัดรายชื่อออกมาว่าใครบ้างที่เป็นคู่แข่งโดยตรงและโดยอ้อม

แนะนำให้หาข้อมูลให้มากพอสมควร คู่แข่งจะมีทั้งโดยตรง เช่น ธุรกิจเหมือนคุณ ทำเลเดียวกับคุณ ขนาดพอๆ กับคุณ และที่สำคัญคือ “กลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายเหมือนคุณ” จากนั้นก็หาข้อมูลคู่แข่งทางอ้อมด้วย เช่น คนละตลาดกันแต่ธุรกิจเหมือนกัน หรือลูกค้ามีโอกาสเปลี่ยนใจไปซื้อคู่แข่ง เป็นต้น

2. รวบรวมข้อมูลตามปัจจัยพื้นฐานด้านการแข่งขัน

เรื่องนี้ก็ต้องหมั่นหาข้อมูลและเสือกคู่แข่งเยอะๆ ส่วนใหญ่มักมาจากเว็ปไซต์ โซเชี่ยลมีเดีย รายงานงบการเงิน รีวิวจากลูกค้า ข่าวสารต่างๆ ฯลฯ เพื่อหาปัจจัยเหล่านี้ออกมาให้ได้ ซึ่งมีดังนี้

– สินค้าและบริการ: คู่แข่งมีอะไรบ้าง และมีอะไรที่แตกต่างจากคุณ
– ราคา: คู่แข่งมีกลยุทธด้านราคาอย่างไร ตั้งสูงกว่าหรือต่ำกว่า หรือราคาเท่ากับคุณ
– ส่วนแบ่งตลาด: ดูง่ายๆ จากรายได้ ถ้าพวกเขามากกว่าคุณแสดงว่าส่วนแบ่งตลาดสูงกว่า
– กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า: กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าเป็นใคร เหมือนหรือต่างกับคุณมากแค่ไหน
– กลยุทธด้านการตลาด: มีโปรโมชั่นอะไรบ้าง ผ่านช่องทางไหนบ้าง เช่น โซเชี่ยลมีเดีย หรือจัดหน้าร้าน เป็นต้น
– จุดแข็งและจุดอ่อน: ต้องรู้ให้ได้ว่าจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของพวกเขาคืออะไรที่ต่างจากเรา รวมถึงข้อด้อย
– ช่องทางการจัดจำหน่าย: พวกเขาเก่งช่องทางไหนบ้าง เช่น ออนไลน์ หน้าร้าน หรือมีทีมขายแบบ B2B”
– รีวิวจากลูกค้า: ลูกค้าส่วนใหญ่พูดถึงคู่แข่งอย่างไร ชมหรือด่า มีดราม่าหรือไม่

3. ทำ SWOT Analysis

เป็นพื้นฐานของวิชาการตลาดเลยก็ว่าได้สำหรับ SWOT Analysis ซึ่งหมายถึง (Strength, Weakness, Opportunities, Threats) ซึ่งควรทำเพื่อวิเคราะห์คู่แข่งตัวฉกาจ หาให้เจอและละเอียดเมื่อเทียบกับตัวเรา

Strength คือจุดแข็ง
Weakness คือจุดอ่อน
Opportunitest คือโอกาสที่คู่แข่งจะยกระดับตัวเองให้สูงขึ้น
Threats คือ ความเสี่ยงหรือภัยคุกคาม เช่น ดินฟ้าอากาศ ภัยพิบัติ เทคโนโลยีดิสรัปชั่น ฯลฯ

4. วัดกับคู่แข่งแบบปอนด์ต่อปอนด์ (Benchmarking)

จะดีไปกว่านั้นถ้าคุณสามารถเอาสินค้าหรือบริการของคู่แข่งมาทดสอบเพื่อวัดผลเป็นตัวเลขเมื่อเทียบกับคุณได้ พื้นฐานก็เช่น ยอดขาย ส่วนแบ่งตลาด ความพึงพอใจของลูกค้า ฯลฯ หรือจะดีกว่านั้นคือการวัดผลเชิงประสิทธิภาพ (Performance Benchmaking) เช่น ความเร็ว ความจุ ความใหญ่ ความยาว ความอึด ฯลฯ

5. ปรับกลยุทธเพื่อสร้างความได้เปรียบและติดตามผล

เมื่อวิเคราะห์คู่แข่งออกมาแล้วก็ถึงเวลาสร้างกลยุทธการขายและการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบ เช่น ปรับราคา สินค้า บริการ ฯลฯ เพื่อตอบสนองลูกค้าให้ดีมากยิ่งขึ้น จากนั้นก็ติดตามผลและปรับกลยุทธตามความเหมาะสมครับ

ติดตามกูนี่แหละเซลล์ร้อยล้านได้ที่
Website – sales100million.com
Blockdit – blockdit.com/sales100million
Facebook – facebook.com/sales100million
Instagram – instagram.com/sales100million
YouTube – youtube.com/@sales100million
TikTok – tiktok.com/@sales100million
LinkedIn – linkedin.com/company/sales100million

Leave your vote

Comments

0 comments

Similar Posts