วิเคราะห์ธุรกิจของคุณด้วย 5 Forces Model กันเถอะ

บทความนี้เป็นความรู้ใหม่ล่าสุดทึ่ผมได้รับความรู้ระดับโลกจากสถาบันศศินทร์ โดยมีศาสตราจารย์ระดับโลก Serge Oréal ซึ่งท่านจบด็อกเตอร์จากสถาบันธุรกิจเบอร์หนึ่งของโลกอย่าง Kellogg School of Management ประเทศสหรัฐอเมริกา

เรื่องนีเป็นเรื่องของ 5 Forces Model ซึ่งถูกคิดค้นโดย Michael E. Porter จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อให้คุณได้หวังผลการทำกำไรสูงสุดจากธุรกิจของคุณ นี่คือศาสตร์ที่ทำให้คุณไม่ต้องคิดไปเองแบบลมๆ แล้งๆ ว่าทำไมธุรกิจของคุณยังไม่เดินหน้าไปถึงไหน

5 Forces Model ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟอร์ซคือ “แรงกดดัน” ที่มี 5 สิ่งซึ่งเข้ามากระทบกับธุรกิจของคุณอย่างตรงไปตรงมา ที่สำคัญคือทั้ง 5 ปัจจัยนี้ส่งผลเชิงบวก ไม่ก็เชิงลบกับธุรกิจของคุณ

ถ้าใครกำลังทำธุรกิจหรือทำงานองค์กรในส่วนของการวิเคราะห์ธุรกิจ นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้และต้องอ่านอย่างแท้จริงเลยล่ะครับ


ปัจจัยของ 5 Forces Model มีดังนี้

1. Supplier Power

ซัพพลายเออร์มีผลแน่นอนต่อ “ต้นทุน” ของคุณ พูดง่ายๆ ก็คือถ้าธุรกิจของคุณต้องรับสินค้ามาขาย เช่น ธุรกิจขายครีม คุณจะต้องหาซัพพลายเออร์ที่ผลิตสินค้ามาให้คุณขาย ซึ่งซัพพลายเออร์มีผลแน่นอนต่อราคาต้นทุนสินค้า ปัจจัยที่มีผลก็คือถ้ามีซัพพลายเออร์หลายๆ เจ้า เป็นไปได้ว่าราคาต้นทุนก็ควรจะถูกลง เพราะซัพพลายเออร์มีการแข่งขันเกิดขึ้น ราคาจึงต้องลดลง แต่ถ้าคุณขายสินค้าพิเศษที่มีซัพพลายเออร์ไม่กี่รายทำได้ ราคาต้นทุนที่คุณได้ก็น่าจะแพงขึ้น แถมยังควบคุมคุณได้แทบทุกอย่าง จู่ๆ จะขึ้นราคาก็ทำได้ง่ายๆ เป็นต้น ถ้าคุณต้องพึ่งซัพพลายเออร์เพียงแค่เจ้าเดียวหรือไม่กี่เจ้ามากเท่าไหร่ คุณยิ่งโดนควบคุมได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น

2. Buyer Power

พลังอำนาจในการซื้อของคุณนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือถ้าคุณมีเงินมากเท่าไหร่ คุณยิ่งมี “อำนาจต่อรอง” กับเหล่าซัพพลายเออร์ได้มากขึ้นเท่านั้น อารมณ์แบบยิ่งซื้อเยอะ ราคาก็ยิ่งถูก เงินในกระเป๋าคุณคือสิ่งที่บ่งบอกถึงอำนาจในการต่อรองให้ได้ราคาที่ดีที่สุด แต่ถ้าเงินไม่ค่อยมี อันนี้ก็เสียเปรียบหน่อย เพราะว่าซื้อน้อยราคาย่อมสูง แต่ถ้าเหมาเป็นโหลราคาย่อมถูก เป็นต้น

3. Competitive Rivalry

คู่แข่งเป็นสิ่งที่ทำให้คุณมีโอกาสขายได้น้อยลง (ก็แหงอยู่แล้ว) ยิ่งมีเยอะก็ยิ่งขายยากขึ้นเท่านั้น ศัพท์ทางการตลาดที่มีคนขายอยู่รวมกันเยอะๆ และต้องแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตาย เช่น ธุรกิจความงาม ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ ว่า “น่านน้ำสีแดง” (Red Ocean) ยิ่งคู่แข่งมีขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น สินค้า บริการ ราคา ฯลฯ มากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งยากต่อการได้เงินจากลูกค้ามากขึ้นเท่านั้น จงลองจับตามองว่าธุรกิจของคุณมีคู่แข่งมากแค่ไหน ยิ่งมากก็ยิ่งยาก ว่างั้นเถอะ

4. Threat of Substitutions

คือภัยคุกคามต่อธุรกิจของคุณเมื่อลูกค้าสามารถ “หาสินค้าทดแทน” สินค้าของคุณ เช่น คุณทำธุรกิจขายสบู่ โฟมล้างหน้า คอมพิวเตอร์สำนักงาน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ซึ่งหาสินค้าทดแทนได้ง่ายๆ และเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษ ลูกค้าก็ยิ่งเปลี่ยนใจไปซื้อลูกค้ารายอื่นได้ง่ายๆ เช่น โค้กกับเป๊ปซี่ ถ้าไปร้านอาหารแล้วมีแต่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง คุณก็คงไม่แคร์ว่าจะดื่มอะไรเป็นพิเศษ อะไรก็ได้ว่างั้นเหอะ

5. Threat of new entrances

คือผลกระทบจาก “ผู้เข้าแข่งขันรายใหม่” ธุรกิจที่มันง่ายก้อมีชาวบ้านแห่กันมาทำได้งาน อารมณ์ประมาณร้านกาแฟนี่แหละครับ ขายอยู่ดีๆ ชาวบ้านก้อแห่ขายตาม


วิธีวิเคราะห์ Five Forces Model ว่าส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณมากแค่ไหน

คุณจะต้องวิเคราะห์ 5 ปัจจัยนี้ให้ขาดโดยการประเมินง่ายๆ ด้วยการแบ่งเป็นระดับว่ากระทบกับธุรกิจของคุณมากแค่ไหน แบ่งเป็น กระทบมาก กระทบปานกลาง และกระทบน้อย ตัวอย่างเช่น ธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน การวิเคราะห์แรงกดดันทั้ง 5 แบบ น่าจะมีรูปแบบดังนี้

1. Supplier Power: กระทบน้อย

เพราะธุรกิจเฟอร์นิเจอร์มีโรงงานที่ทำสินค้าให้คุณอยู่เต็มไปหมด เป็นไปได้ว่าคุณจะเจอผู้ผลิตที่ให้ราคาน่าสนใจ เพราะพวกเขาค

งต้องง้อคู่ค้าแน่นอน ราคาไม่น่าจะกระทบคุณเท่าไหร่

2. Buyer Power: แล้วแต่เงินในกระเป๋า (กระทบปานกลาง)

ถ้าเงินคุณหนาก็ยิ่งบี้ซัพพลายเออร์ได้ง่าย แต่ถ้าเงินน้อยก็ตัวใครตัวมันล่ะครับ

3. Competitive Rivalry: กระทบมาก

คู่แข่งของคุณมีตั้งแต่ระดับโลกยันระดับ อบต. ที่แข่งแกร่งทั้งเรื่องสินค้า ราคา งานบริการ งานขาย ฯลฯ ก็อยู่ที่คุณละครับว่ามีศักยภาพในการแข่งขันมากแค่ไหน

4. Threat of Substitutions: กระทบมาก

สินค้าทดแทนมีอยู่เยอะแยะ พูดง่ายๆ ก็คือจริงๆ แล้วมันไม่ได้สำคัญต่อธุรกิจของลูกค้าขนาดนั้นด้วย เผลอๆ ใช้โต๊ะ เก้าอี้ทำงานแบบกากๆ ที่ซื้อจากโลตัส บิ๊กซี เลยก็ยังได้ และต่อให้ไม่ซื้อคุณ พวกเขาก็ซื้อคนอื่นได้สบายๆ

5. Threat of new entrances: กระทบปานกลาง

คู่แข่งที่จะเข้ามาเล่นตลาด B2B คงมีไม่มากนัก แต่ก็ไม่น้อยเช่นกัน มีตั้งแต่ระดับโลกยัน sme

นี่คือตัวอย่างของการวิเคราะห์ Five Forces Model ที่คุณสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณโดยพยายามยึดติดกับปัจจัยทั้ง 5 อย่างนี้เป็นหลัก มันจะทำให้คุณรู้ว่าคุณต้องพัฒนาอะไรเพิ่มเติมหรือปัจจัยไหนเป็นสิ่งที่คุณแข่งแกร่งอยู่แล้ว โมเดลนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งธุรกิจแบบ B2B และ B2C ครับ


นี่คือตัวอย่างของการวิเคราะห์ธุรกิจจาก Five Forces Model ที่ได้มาจากสถาบันการศึกษาระดับโลกจากผมครับ

Leave your vote

Comments

0 comments

Similar Posts

ใส่ความเห็น